อ.ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล คนไทยคนแรกคว้ารางวัลระดับโลก The Charles Ives Awards สาขาการประพันธ์ดนตรี |
[ บทความทั่วไป ] |
ลำดับที่: | MH05-455 |
ชื่อเรื่อง: | อ.ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล คนไทยคนแรกคว้ารางวัลระดับโลก The Charles Ives Awards สาขาการประพันธ์ดนตรี |
สภาพเอกสาร: | สมบูรณ์ |
รายละเอียดเพิ่มเติม: | เรื่อง อ.ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล คนไทยคนแรกคว้ารางวัลระดับโลก The Charles Ives Awards สาขาการประพันธ์ดนตรี - อาจารย์ ดร.ณรงค์ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับ รางวัล The Charles Ives Awards สาขาการประพันธ์ดนตรี (Charles Ives Fellowship) ann American Academy of Arts and Letters ซึ่งเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงด้านดนตรีและ ศิลปะที่มีประวัติศาสตร์ระดับโลกมาอย่างยาวนานถึง 123 ปี ได้พิสูจน์แล้วถึงความเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน” ของ มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งไม่ได้มุ่งสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษา ชั้นนําด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพระดับโลกแต่เพียงด้านเดียว อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการ เป็นนักประพันธ์ดนตรีมืออาชีพว่า เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งศึกษา ระดับปริญญาเอกที่ University of Missouri at Kansas City ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พบกับอาจารย์ Chen Yi ซึ่ง เป็นอาจารย์ทางดนตรีชาวจีนท่านแรกที่ให้คําแนะนําให้ตนลอง ประพันธ์ดนตรีแบบ “คิดนอกกรอบ” โดยให้กลับไปศึกษาความ เป็นไทย ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิด แล้วจับเอาเสน่ห์ของความเป็น ไทยนั้นใส่ลงไปในดนตรี ส่งผลให้ได้รับรางวัลแรกในชีวิตจาก การประพันธ์ดนตรี คือ Toru Takemisu Award จากประเทศ ญี่ปุ่น; จากนั้น อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ สามารถคว้า รางวัลจากการส่งประกวดในระดับนานาชาติอีกมากมายหลาย รางวัล ซึ่งรางวัลระดับโลกที่ภาคภูมิใจในชีวิต ได้แก่ รางวัล Guggenheim Fellowship ann Guggenheim Foundation และรางวัล Barlow Prize ซึ่งอาจารย์ ดร.ณรงค์ปรางค์เจริญ เป็นชาวเอเชียคนที่ตที่ได้รับรางวัลดังกล่าวจนเมื่อได้มารับ ตําแหน่งคณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ ได้ใช้ประสบการณ์การทํางาน ในฐานะนักประพันธ์ดนตรีมืออาชีพ และเครือข่ายทางดนตรีที่ สั่งสมมาอย่างยาวนานในต่างประเทศเกือบ 20 ปี ผลักดันให้ การเรียนการสอนดนตรีของวิทยาลัยฯได้มาตรฐานระดับ นานาชาติ จากที่ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้มี ความร่วมมือกับ The International Benchmarking Exercise (IBE) เมื่อเร็วๆ นี้ และในอนาคตจะพยายามผลักดันให้มีการประชุม วิชาการด้านดนตรีระดับนานาชาติในประเทศไทยให้มากขึ้น เพื่อ ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนการสอนด้านดนตรีของไทยให้ก้าวสู่ ระดับอินเตอร์ได้อย่างมีศักยภาพต่อไป; อ้างอิง มหิดลสาร ปีที่ 46 ฉบับที่ 4 1 เมษายน 2564 หน้า 14 |
ข้อมูลอ้างอิง: | มหิดลสาร ปีที่ 46 ฉบับที่ 4 1 เมษายน 2564 หน้า 14 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | เกียรติยศ และความภาคภูมิใจ |
ประเภททรัพยากร: | บทความทั่วไป |
ความยาว: | 1 หน้า |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | เอกสารฉบับนี้ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของผลงาน |
บันทึกของเจ้าหน้าที่: | นางสาวนวลปรางค์ ศรัทธาบุญ ตำแหน่ง นักเอกสารสนเทศ |
วันที่บันทึกข้อมูล: | 2021-07-31 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู H05-455.pdf (2.109เมกะไบต์) |
|
ดู H05-455.pdf (2.109เมกะไบต์) |
ข้อมูลการติดต่อ
งานบริหารจดหมายเหตุ
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล |
|
0-2800-2680-9 ext 4346 | |
muarms@mahidol.ac.th | |
https://museum.li.mahidol.ac.th | |
https://www.facebook.com/MUARMS/ |