เรียกดู โครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง "MU Story" (2557) ตามชื่อผู้แต่ง "ธวัชชัย ตวงวิไล"
แสดงรายการ 1-3 จากทั้งหมด 3
-
ดูแลด้วยใจ Care
ธวัชชัย ตวงวิไลภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพน่าจดจำ ชื่อภาพ : ดูแลด้วยใจ Care ถ่ายโดย นายธวัชชัย ตวงวิไล คำบรรยายภาพ : คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นสถานที่หนึ่งที่ใช้ฝึกนักศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ ในระดับคลินิกปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความชำนาญในด้านต่างๆเช่นการฝึกควบคุมบังคับสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ทั้งปศุสัตว์และสัตว์ป่านานาชนิด นับได้ว่าเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศและภูมิภาคที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยสัตว์ป่วยทั้งในและนอกพื้นที่ การให้บริการผ่าตัดสัตว์ใหญ่ โรงพยาบาลช้างซึ่ง ประกอบด้วย นายสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักศึกษาสัตวแพทย์ระดับชั้นคลินิกที่สามารถให้การตรวจรักษาและให้คำปรึกษาด้านต่างๆเช่น การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ การจัดการด้านระบบสืบพันธุ์ การจัดการอาหารและการจัดการระดับฟาร์มปศุสัตว์เป็นต้น งานปศุสัตว์ไม่เพียงแต่การรักษาสัตว์ป่วยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดูแลความพร้อมทั้งทางด้านปริมาณ และคุณภาพการผลิตต่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคอีกด้วย ถือได้ว่าการดูแลสัตว์นอกสถานที่นั้นนอกจากจะเป็นการฝึกให้นักศึกษามีความชำนาญในการฝึกปฎิบัติจริงแล้ว ยังทำให้นักศึกษาได้ใกล้ชิดและได้มีโอกาสดูแลสัตว์ชนิดต่างๆด้วยใจที่มีความโอบอ้อมอ้อมอารีย์ สมดัง คติพจน์ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ว่า “Wisdom of the land”หรือ “ปัญญาของแผ่นดิน” ที่พร้อมใช้ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา ดูแลแทบทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นเพื่อนมนุษย์หรือเหล่าสรรพสัตว์ผู้เป็นเพื่อนร่วมโลก ให้มีความความสุขและสุขภาพที่ดีสืบไป -
ปกป้องห่วงใย protect
ธวัชชัย ตวงวิไลภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพน่าจดจำ ชื่อภาพ : ปกป้องห่วงใย protect ถ่ายโดย นายธวัชชัย ตวงวิไล คำบรรยายภาพ : คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับมอบหมายภารกิจพิเศษจาก มหาวิทยาลัยในการจัดทำโครงการ “รณรงค์เพื่อสวัสดิภาพสุนัขจรจัด” เพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดในมหาวิทยาลัยให้เป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานอื่น ๆ ของประเทศคือโครงการต้นแบบเพื่อแก้ปัญหาสุนัขจรจัดอย่างยั่งยืนนับเป็นโครงการที่มีความสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพประกอบด้วยการขึ้นทะเบียนสุนัขอาคารโรงเรือนสังเคราะห์สุนัข การฝึกสุนัขนิสัยดี และการหาบ้านใหม่ให้สุนัขจรจัด ซึ่งได้รับความสนใจจากหน่วยงานและชุมชนทั้งประเทศเข้าเยี่ยมชมขอรับความรู้ แนวทางปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดอย่างยั่งยืนในพื้นที่ของตน โครงการนี้ถือได้ว่าเป็นดูแลเอาใจใส่และเป็นการการปกป้องสุนัขจรจัดให้พ้นจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมให้มีคุณภาพและสวัสดิภาพในชีวิตที่ดีขึ้นด้วยความห่วงใยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล -
มหิดลสิทธาคาร โดดเด่น...ไม่โดดเดี่ยว Splendid Simplicity
ธวัชชัย ตวงวิไลภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพน่าจดจำ ชื่อภาพ : มหิดลสิทธาคาร โดดเด่น...ไม่โดดเดี่ยว Splendid Simplicity ถ่ายโดย นายธวัชชัย ตวงวิไล คำบรรยายภาพ : โครงการก่อสร้าง มหิดลศิทธาคารแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ริเริ่มที่จะก่อสร้าง หอประชุมใหญ่เพื่อใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและกิจกรรมอื่นๆ ใช้เวลาเกือบครึ่งศตวรรษในการดำเนินงานอย่างพิถีพิถันตั้งแต่การออกแบบ กล่าวคือหลังคาจะคล้ายซี่โครงมนุษย์สอดคล้องกับประวัติของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เริ่มจากการเป็นโรงเรียนแพทย์และยังคล้ายรูปดอกกันภัยมหิดล ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล หมายถึงความเจริญก้าวหน้าและสามารถปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อาคารแห่งนี้ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2552 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 5ธันวาคม พ.ศ.2556 รวมระยะเวลาที่ใช้ก่อสร้างเป็นเวลาถึง 1,500 วัน งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้าง ประมาณ 1,450 ล้านบาท จากความสง่างามดังกล่าว จึงทำให้ชาวมหิดลมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากแต่เป็นความสง่างามและโดดเด่นที่กลมกลืน ทุกคนสามารถสัมผัสจับต้องได้ ไม่โดดเดี่ยวแปลกแยกออกไป เพราะอาคารแห่งนี้เปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษา บุคลากร หรือแม้แต่ผู้คนในชุนชนใกล้เคียงและคนไทยทั้งประเทศ สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ ตรงกับวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดลในข้อที่ว่า “Harmony” หรือ ความกลมกลืนกับสรรพสิ่ง โดยการสร้างความผูกพันกับผู้คนให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย อีกทั้งยังมีความถ่อมตนให้ความเป็นกันเอง ประสานความแตกต่าง ให้เกิดความกลมกลืนกับทุกภาคส่วนโดยเท่าเทียม นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยมหิดล อีกข้อที่ว่า “Altruism” หรือการมุ่งผลประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือการสร้างความประทับใจด้วยการบริการ และผลงานที่มีคุณภาพด้วยความเต็มใจ ดูแล และรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและสังคมเสมือนของตนเอง จึงถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ควรค่าต่อการจดจำ ในฐานะสถานที่ที่โดดเด่นและสง่างาม แต่แฝงไปด้วยความแน่นแฟ้น อบอุ่น ไม่โดดเดี่ยว สมดังชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “มหิดลสิทธาคาร” ซึ่งหมายถึง อาคารที่มีความสำเร็จแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลการติดต่อ
งานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ห้อง 301 ชั้น 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล |
|
0-2849-4541-2 | |
0-2849-4545 | |
muarms@mahidol.ac.th | |
https://museum.li.mahidol.ac.th | |
https://www.facebook.com/MUARMS/ |