Browsing Mahidol University Museums : คลังข้อมูลพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล by Author "อภิชัย อารยะเจริญชัย"
Now showing items 1-7 of 7
-
ค้นคว้าหาความรู้ ๑
อภิชัย อารยะเจริญชัยภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพน่าจดจำ ชื่อภาพ : ค้นคว้าหาความรู้ ๑ ส่งประกวดโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย คำบรรยายภาพ : ในยุคที่เทคโนโลยียังไม่ทันสมัยเช่นดังปัจจุบัน การนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ร่วมกับกิจการของห้องสมุดยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น “ตู้บัตรรายการ” คือสิ่งที่บรรณารักษ์และนักศึกษาต้องทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย แม้จะดูไม่ทันสมัยและใช้งานยากกว่าคอมพิวเตอร์ แต่ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนก็สามารถจัดเก็บรายการทรัพยากรของห้องสมุดได้อย่างครบถ้วนและเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะมีทรัพยากรจำนวนมากมายสักเพียงใดก็ตาม ปัจจุบัน ตู้บัตรรายการ คงเหลือเพียงตำนานเล่าขาน นักศึกษารุ่นใหม่ไม่รู้จักมันอีกต่อไป แต่สำหรับบัณฑิตรุ่นเก่า มันคือเพื่อนร่วมทางที่แสนดีตลอดระยะวลาที่ศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย วันที่บันทึกภาพ : ราว พ.ศ. 2530 -
ค้นคว้าหาความรู้ ๒
อภิชัย อารยะเจริญชัยภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพน่าจดจำ ชื่อภาพ : ค้นคว้าหาความรู้ ๒ ส่งประกวดโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย คำบรรยายภาพ : ระบบสารสนเทศของห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เริ่มก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ แต่ก่อนหน้านั้น ห้องสมุดฯ ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้สำหรับกิจการต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อยุคสมัย ภาพนี้แม้จะไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ ของห้องสมุด แต่ก็บอกเล่าเรื่องราวและพัฒนาการของมันได้เป็นอย่างดี และยังชี้ให้เห็นถึงปณิธานของห้องสมุดที่พยายามส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้รู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนและการวิจัยมาตั้งแต่ยุคอดีต วันที่บันทึกภาพ : ราว พ.ศ. 2530 -
โครงสร้างความสำเร็จ
อภิชัย อารยะเจริญชัยภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพเก่าทรงคุณค่า ชื่อภาพ : โครงสร้างความสำเร็จ ส่งประกวดโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย คำบรรยายภาพ : แม้ภายนอก กลุ่มอาคารทดลองวิทยาศาสตร์ ของคณะวิทยาศาสตร์จะดูเรียบง่าย แต่มันได้ถูกออกแบบมาอย่างลงตัวและเต็มไปด้วยรายละเอียด ทุกส่วนของอาคารมีความสำคัญและเชื่อมโยงถึงกันอย่างสอดคล้อง ต่างทำหน้าที่ในส่วนของตนอย่างแข็งขันมากว่าครึ่งศตวรรษ กลุ่มอาคารทดลองวิทยาศาสตร์ เริ่มถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โครงสร้างของอาคารทำหน้าที่กระจายน้ำหนักและรองรับส่วนต่างๆ อย่างแข็งแรง ไม่ต่างไปจากปุถุชนทั่วไปที่จะหยัดยืนได้อย่างแข็งแกร่ง ต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน มั่นคง มีรากฐานที่แข็งแกร่ง มีต้นทุนชีวิตที่ดีนั่นคือ ความรู้และปัญญา แม้จะเป็นเพียงอาคารเก่าหลังหนึ่ง แต่หากพิจารณาด้วยปัญญา มันก็สอนบางสิ่งบางอย่างให้แก่เราได้เช่นกัน วันที่บันทึกภาพ : พ.ศ. 2511 -
ตึกกลม Lecture Building, Faculty of Science, Mahidol University
อภิชัย อารยะเจริญชัยภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพน่าจดจำ ชื่อภาพ : ตึกกลม Lecture Building, Faculty of Science, Mahidol University ส่งประกวดโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย คำบรรยายภาพ : อาคารปาฐกถา หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ตึกกลม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ภายหลังที่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ย้ายสถานที่ทำการมายังบริเวณถนนพระรามที่ ๖ บริเวณที่ตั้งในปัจจุบันแต่เดิมเป็นที่รกร้าง มีชาวบ้านมาจับจองพื้นที่บางส่วนอาศัย จนถูกเรียกว่า "ชุมชนสลัมสะพานเสาวนีย์" จนเมื่อ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข ได้ดำเนินการผลักดันโครงการขยายพื้นที่ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์จนเป็นผลสำเร็จ ภายใต้รัฐบาลสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี จึงได้ปรับพื้นที่และสร้างกลุ่มอาคารเรียนและ "ตึกกลม" หลังนี้ขึ้น จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยมีนายอมร ศรีวงศ์ เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ อาคารหลังนี้ใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้น ๔ ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ชาวคณะวิทยาศาสตร์ได้ร่วมกันยินดีอย่างยิ่งเมื่อ ตึกกลม ได้รับรางรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๓ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่บันทึกภาพ : 16 ธันวาคม 2557 -
ใต้ร่มเงาตึกกลม
อภิชัย อารยะเจริญชัยภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพเก่าทรงคุณค่า ชื่อภาพ : ใต้ร่มเงาตึกกลม ส่งประกวดโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย คำบรรยายภาพ : ตึกกลม คือชื่อเรียกขานด้วยความคุ้นเคยของชาวคณะวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่อดีต ด้วยรูปทรงที่แปลกตา หากมองจากที่ไกลๆ จะดูคล้ายจานบินที่จอดนิ่งอยู่ท่ามกลางสวนป่าอันเขียวขจี จนคำเรียกขาน ตึกกลม ได้กลายเป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของอาคารปาฐกถาหลังนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อาคารหลังนี้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เกือบครึ่งศตวรรษที่ได้ยืนหยัดเคียงคู่กับคณะวิทยาศาสตร์ เป็นสถานที่บ่มเพาะวิชาความรู้ให้กับนักศึกษามารุ่นแล้วรุ่นเล่า เป็นสถานที่จัดนานากิจกรรมของนักศึกษา เป็นที่ชุมนุมของนักวิชาการระดับประเทศ เป็นเสมือนศูนย์รวมใจของชาวคณะวิทยาศาสตร์ ที่ทุกคนคงจินตนาการไม่ออกว่าคณะวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีตึกกลม จะเป็นอย่างไร จนถึงทุกวันนี้ ตึกกลม ยังคงยืนตระหง่าน ทำหน้าที่เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของนักศึกษา และยังคงให้ร่มเงาและความอบอุ่นเหมือนเช่นดังวันแรกที่ทำหน้าที่นี้เมื่อกว่าห้าสิบปีก่อนอย่างไม่ผิดเพี้ยน วันที่บันทึกภาพ : พ.ศ. 2511 -
ทางเดินเฟื่องฟ้า
อภิชัย อารยะเจริญชัยภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพเก่าทรงคุณค่า ชื่อภาพ : ทางเดินเฟื่องฟ้า ส่งประกวดโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย คำบรรยายภาพ : ทางเดินนี้ทอดยาวผ่านอาคารถึงสี่หลัง ภายใน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในอดีตได้ปลูกต้นเฟื่องฟ้าประดับไว้ตามทางเดินเรียงรายตั้งแต่ ตึกเคมี เรื่อยมาจนถึง ตึกฟิสิกส์ จนต้นเฟื่องฟ้าเลื้อยปลกคลุมหลังคาทางเดินเป็นแนวยาวสีเขียวครึ้ม แซมด้วยสีขาวและชมพูของดอกเฟื่องฟ้า จนกลายเป็นที่มาของชื่อ ทางเดินเฟื่องฟ้า หรือ ซุ้มเฟื่องฟ้า แห่งคณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลังคาทางเดินแห่งนี้ เนื่องจากแรงกดทับและน้ำหนักของต้นเฟื่องฟ้าที่เจริญเติบโตจนสร้างความเสียหายให้โครงสร้าง เพื่อความปลอดภัยของโครงสร้างหลังคา จึงได้ทำการรื้อถอน ตัดแต่ง ทำให้ปัจจุบันคงเหลือต้นเฟื่องฟ้าอยู่เพียงจำนวนหนึ่ง แต่ชาวคณะวิทยาศาสตร์ทั้งรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ ต่างยังคงเรียกขานตามชื่อเดิมคือ ทางเดินเฟื่องฟ้า หรือ ซุ้มเฟื่องฟ้า มาจนถึงปัจจุบัน ศิษย์เก่าของคณะวิทยาศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ล้วนแต่ยังคงจดจำทางเดินเฟื่องฟ้า ที่ลากผ่านตึกฟิสิกส์ซึ่งบริเวณด้านล่างเป็นพื้นที่โล่งสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ ของคณะ อาทิ พิธีรับน้องใหม่ พิธีไหว้ครู หรือกิจกรรมสันทนาการของนักศึกษา ศิษย์เก่าหลายท่านได้เล่าย้อนอดีตถึงบรรยากาศในครั้งก่อนว่านี่คือสถานที่ที่เต็มไปด้วยความรื่นรมย์ สมกับเป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่เพียงให้ความรู้ทางวิชาการ แต่ยังมอบช่วงเวลาที่น่าจดจำให้กับทุกคนโดยแท้ วันที่บันทึกภาพ : ราว พ.ศ. 2536 -
ห้องพัก “อาจารย์ใหญ่"
อภิชัย อารยะเจริญชัยภาพจากโครงการประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง MU Story จัดโดยฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ภาพเก่าทรงคุณค่า ชื่อภาพ : ห้องพัก “อาจารย์ใหญ่" ส่งประกวดโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย คำบรรยายภาพ : อาคารหลังเล็ก หลังคาเป็นคลื่นรูปทรงแปลกตา คือ อาคารกายวิภาคศาสตร์ เป็นอาคารสำหรับเก็บศพเพื่อการศึกษาของนักศึกษาในวิชากายวิภาคศาสตร์ หรืออาคารเก็บ “อาจารย์ใหญ่” อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ระหว่าง ตึกชีววิทยา และ ตึกปรีคลินิก ท่ามกลางต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ขึ้นเขียวขจี ด้านหลังติดกับทางรถไฟ แม้จะเป็นอาคารที่ให้ความรู้สึกน่ากลัวสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับคณะวิทยาศาสตร์แล้ว นี่คือสถานที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาที่ควรแก่การเคารพอย่างที่สุด ปัจจุบันอาคารกายวิภาคศาสตร์หลังนี้ได้ถูกรื้อถอนไปเนื่องจากสภาพที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา โดยได้สร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่ภาพของอาคารหลังคาทรงคลื่นหลังนี้ ยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวคณะวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนอย่างไม่มีวันลบเลือน วันที่บันทึกภาพ : ราว พ.ศ. 2530-2535
Contact Us
Museums and Exhibitions Division, Mahidol University Library and Knowledge Center 3rd Floor, Room 301 Mahidol University Archives and Museums Mahidol Learning Center Building, Mahidol University, Salaya, Phutthamonthon, |
|
0-2849-4541-2 | |
0-2849-4545 | |
muarms@mahidol.ac.th | |
https://museum.li.mahidol.ac.th | |
https://www.facebook.com/MUARMS/ |